วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556



ประัเทศกัมพูชา (Cambodia)

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

    เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
ที่ตั้ง : กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย
พื้นที่ :
ขนาดกว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร
เมืองหลวง :
กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
ประชากร :
14.1 ล้านคน (ปี 2548) ประกอบด้วย ชาวเขมรร้อยละ 94 ชาวจีนร้อยละ 4 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2 มีอัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 – 36 องศาเซลเซียส
ภาษา :
ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท (แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย) และศาสนาอื่นๆ อาทิ ศาสนาอิสลามแล ศาสนาคริสต์
สกุลเงิน : เงินเรียล (Riel : KHR) อัตราแลกเปลี่ยน 4,000 เรียลเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 100 เรียล เท่ากับ 1 บาท
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
* พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี (His Majesty Preah Bat Samdech Preah Boromneath Norodom Sihamoni) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2547
* นายกรัฐมนตรี คือ สมเด็จฮุน เซน (Samdech Hun Sen)


ชุดประจำชาติกัมพูชา



ชุดประจําชาติอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ

         ซัมปอต (Sampot) เป็น เครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศกัมพูชาสำหรับผู้หญิงซึ่งมีความคล้าย คลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย มีหลากหลายรูปแบบ ส่วนผู้ชายนั้นมักสวมใส่เสื้อที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขน ยาว พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว

 ดอกลำดวน


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

        กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย  มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ  ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น  และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง  ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ  ด้วยนะ
เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

ภาษา และการสื่อสาร 

        ภาษาประจำชาติของกัมพูชาคือ ภาษาขแมร์ ซึ่งสำหรับคนไทยแล้ว หากตั้งใจที่จะเรียน น่าจะสามารถพูดและอ่านได้ภายในระยะเวลาเพียง 6 เดือน เนื่องจากพยัญชนะ สระ การประสมคำ และรูปประโยคจะคล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันที่เห็นชัดเจนคือ วิธีการออกเสียงซึ่งของไทยจะเน้นเสียงตัวสะกด ขณะที่กัมพูชาจะไม่ค่อยออกเสียงตัวสะกด และเสียงสระจะผันตามเสียงพยัญชนะซึ่งมี 2 ฐานคือ โฆษะ กับ อโฆษะ หรือเสียงใหญ่กับเสียงเล็ก เช่น คำตามรูปพยัญชนะและสระสะกดว่า การงาน ไทยอ่านว่า กาน งาน กัมพูชาจะอ่านว่า กา เงีย อักษร เป็นพยัญชนะโฆษะเสียงใหญ่ สระเสียงคงรูป แต่อักษร เป็นอโฆษะ เสียงเล็ก สระจะผันตามพยัญชนะ ซึ่งผู้สนใจคงจะต้องไปหาที่เรียนรู้เพิ่มเติม  ทั้งนี้ พยัญชนะขแมร์มี 32 ตัว สระมี 21 ตัว   จากการที่ชาวกัมพูชามีความใกล้ชิดกับชนชาติต่างๆ มาก ไม่ว่าจากการเป็นสังคมที่เปิดกว้าง การเข้ามาค้าขายของชาวจีน การกลับประเทศของผู้ลี้ภัยสงคราม ไม่ว่าจากประเทศที่มีชายแดนติดกัน หรือจากอเมริกา ฝรั่งเศส หรือออสเตรเลีย รวมทั้งการได้รับความช่วยเหลือในรูปทุนการศึกษาในด้านต่างๆ จำนวนมาก และอาจจะประกอบกับการให้ความสำคัญต่อการมีทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ ทำให้นักการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนชั้นกลางขึ้นมา จะพูดและฟังภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาแม่ได้ดี โดยทางธุรกิจการค้าจะมีภาษาจีนแต้จิ๋ว จีนกลาง และอังกฤษเป็นสำคัญ ขณะที่ภาษาไทยและเวียดนามจะรู้จักแพร่หลายทั่วกับผู้ประกอบธุรกิจและประชาชนทั่วไป โดยผู้ที่อยู่ตามจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศทั้งสองจะมีทักษะในการใช้ภาษาไทยและเวียดนามมากกว่าผู้อยู่ในพนมเปญ

ภาพรวมด้านเศรษฐกิจ

ในปี พ.ศ. 2552 กัมพูชามีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ร้อยละ -1.5 ซึ่งมีสาเหตุจากภัยแล้งและอุทกภัย ส่งผลกระทบต่อผลผลิตด้านการเกษตร ซึ่งเป็นรายได้หลักของประชากรร้อยละ 70 ของประเทศ รวมถึงการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอ รองเท้า ที่ลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของกัมพูชา และการที่สหรัฐอเมริกายกเลิกการใช้มาตรการ Safeguard ต่อสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากจีน นอกจากนี้ จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลก ส่งผลให้การพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ได้ชะลอตัวลง และบางโครงการถอนการลงทุน อนึ่ง ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาส่งผลให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2553 คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชาน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้การส่งออกของกัมพูชามีแนวโน้มดีขึ้น ที่สำคัญกัมพูชาก็เริ่มให้การสนับสนุนกับการลงทุนภาคสาธารณะมากขึ้นเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวภายในอนาคต อาทิ การสร้างถนน โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าถ่านหิน สร้างท่าอากาศยาน การบริหารจัดการระบบรถไฟ เป็นต้น
ทั้งนี้ กัมพูชามีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ 635 เหรียญสหรัฐฯ โดยรายได้หลักของกัมพูชามาจากภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 32.5 ได้แก่ การกสิกรรม การประมง ปศุสัตว์ และป่าไม้ ซึ่งสินค้าเกษตรที่ส่งออก ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์ปลา และยางพารา รองลงมา ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง สัตว์มีชีวิต ผลไม้ และปลา เป็นต้น ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 22.4 ซึ่งสินค้าอุตสาหกรรมส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และภาคบริการร้อยละ 45.1 รายได้ที่สำคัญของภาคบริการ ได้แก่ รายได้จากนักท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ