วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเทศบูรไน ดารุสซาราม

ประเทศบูรไน ดารุสซาราม
 
ประเทศบรูไน
 
ชื่อทางการ เนการาบรูไนดารุสซาลาม 

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ 

ที่ตั้ง: ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้ แบ่งออกเป็น 4 เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong 
พื้นที่: 5,765 ตารางกิโลเมตร เป็นผืนแผ่นดิน 5270 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ 70% เป็นป่า เขตร้อน) และเป็นผืนน้ำ 500 ตารางกิโลเมตรโดย 
ดินแดนอาณาเขต: รวม 381 กิโลเมตร มีดินแดนอาณาเขตติดกับประเทศมาเลเซียทั้งหมด 
เขตชายฝั่ง: 161 กิโลเมตร 
เมืองหลวง: บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) 
ภูมิอากาศ: อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก และมี อุณหภูมิอบอุ่น โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส 
ภูมิประเทศ: พื้นที่ชายฝั่งสูงขึ้นเป็นภูเขาทางทิศตะวันออก และเนินเขาต่ำทางทิศตะวันตก 
ทรัพยากรธรรมชาติ: ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และไม้ 
ภัยธรรมชาติ: ไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว และอุทกภัย 
สิ่งแวดล้อม (ปัญหาปัจจุบัน): ควันจากไฟป่าในอินโดนีเซีย 
สิ่งแวดล้อม (ความตกลงระหว่างประเทศ) : เป็นสมาชิกความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ สูญพันธ์ การปรับตัวของสิ่งแวดล้อม ขยะอันตราย การปกป้องชั้นบรรยากาศ ภาวะมลพิษจากเรือ 

ประชากร 

ประชากร: 374,577 คน (ประมาณการ ปี 2550) 
โครงสร้างอายุ: 0-14 ปี : 27.8% (เพศชาย 53,512 เพศหญิง 50,529) 15-64 ปี : 69 % (เพศชาย 130,134 เพศหญิง 128,488) 65 ปี และสูงกว่า : 3.1% (เพศชาย 5,688 เพศหญิง 6,226)
อัตราการเติบโตของประชากร: 1.81% ต่อปี (ประมาณการ ปี 2550) 
สัญชาติ: ชาวบรูไน (Bruneian) 
กลุ่มชนพื้นเมือง: มาเลย์ 67% จีน 15% ชาวพื้นเมือง 6% อื่นๆ 12% 
ศาสนา: ศาสนาประจำชาติ คือ อิสลาม 67% และศาสนาอื่น ได้แก่ พุทธ 13% คริสต์ 10% และอื่นๆ 10% 
ภาษา: ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น ภาษาอังกฤษ และจีน 
การศึกษา: 92.7% ของประชากรทั้งหมดอ่านออกเขียนได้ 
รัฐบาล 

รูปแบบการปกครอง: สมบูรณาญาสิทธิราช 
เขตการปกครอง: แบ่งเป็น 4 เขต คือ Brunei-Muara, Belait, Temburong, Tutong 
รัฐธรรมนูญ: 29 กันยายน 2502 (แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527) 
ระบบกฎหมาย: ใช้หลักกฎหมายอังกฤษ สำหรับชาวมุสลิม ใช้ Islamic Shari'a law แทน กฎหมายแพ่งในหลายสาขา 
ฝ่ายบริหาร: ประมุขของรัฐ สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซ ซัดดิน วัดเดาละห์ (His Majesty Paduka Seri Baginda Sultan Haji Hassanal Bolkiahu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นประมุขของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510 
หัวหน้ารัฐบาล สมเด็จพระราชาธิบดีทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คณะรัฐมนตรี แต่งตั้งและเป็นประธานโดยสมเด็จพระราชาธิบดี การเลือกตั้ง ไม่มี สมเด็จพระราชาธิบดีสืบทอดตามตระกูล 
ข้อมูลเศรษฐกิจ 

ระบบเศรษฐกิจของบรูไนเป็นแบบตลาดเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากน้ำมัน ประมาณ 48% และก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 43% นับเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย คือประมาณ 2 แสนบาร์เรลต่อวัน และผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากเป็นอันดับ 4 ของโลก คือประมาณ 1.2 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมีบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Brunei National Petroleum Company Sedirian Berhad หรือ Petroleum Brunei) ซึ่งจัดตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซ โดยมุ่งเน้นสร้างความมั่งคั่งด้วยการนำรายได้จากน้ำมันไปลงทุนในต่างประเทศ หรือร่วมทุนกับต่างประเทศ โดยดำเนินการผ่าน Brunei Investment Agency (BIA) ในรูปการถือหุ้นหรือซื้อพันธบัตรในยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเวียดนาม โดยส่วนใหญ่อาศัยผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์เป็นผู้ให้คำปรึกษา 
เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของบรูไน คือ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (ส่งออกถึงร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมด) ทำให้บรูไนมีดุลการค้าเกินดุลมาโดยตลอด สินค้าส่วนใหญ่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น อังกฤษ ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐ ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐเกาหลี ตามลำดับ ในขณะที่สินค้านำเข้าส่วนใหญ่มาจากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ และมาเลเซีย โดยเป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และสินค้าเกษตร เช่น ข้าวและผลไม้ 

บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง ได้แก่ การผลิตอาหาร เครื่องมือ และเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังประเทศในยุโรปและอเมริกา ทั้งนี้ รัฐบาลบรูไนมุ่งที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและผลิตเครื่องดื่ม เสื้อผ้าและสิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ วัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่โลหะ กระจกรถยนต์ เป็นต้น แต่ยังคงประสบอุปสรรคด้านการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะช่างฝีมือ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลัก และตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก 

ดอกไม้ประจำชาติบรูไนดารุสซาราม

10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 
 ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย