วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556



ประัเทศกัมพูชา (Cambodia)

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

    เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
ที่ตั้ง : กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย
พื้นที่ :
ขนาดกว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร
เมืองหลวง :
กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
ประชากร :
14.1 ล้านคน (ปี 2548) ประกอบด้วย ชาวเขมรร้อยละ 94 ชาวจีนร้อยละ 4 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2 มีอัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 – 36 องศาเซลเซียส
ภาษา :
ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท (แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย) และศาสนาอื่นๆ อาทิ ศาสนาอิสลามแล ศาสนาคริสต์
สกุลเงิน : เงินเรียล (Riel : KHR) อัตราแลกเปลี่ยน 4,000 เรียลเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 100 เรียล เท่ากับ 1 บาท
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
* พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี (His Majesty Preah Bat Samdech Preah Boromneath Norodom Sihamoni) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม 2547
* นายกรัฐมนตรี คือ สมเด็จฮุน เซน (Samdech Hun Sen)


ชุดประจำชาติกัมพูชา



ชุดประจําชาติอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ

         ซัมปอต (Sampot) เป็น เครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศกัมพูชาสำหรับผู้หญิงซึ่งมีความคล้าย คลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย มีหลากหลายรูปแบบ ส่วนผู้ชายนั้นมักสวมใส่เสื้อที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขน ยาว พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว

 ดอกลำดวน


10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน

        กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย  มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ  ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น  และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง  ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ  ด้วยนะ
เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

ภาษา และการสื่อสาร 

        ภาษาประจำชาติของกัมพูชาคือ ภาษาขแมร์ ซึ่งสำหรับคนไทยแล้ว หากตั้งใจที่จะเรียน น่าจะสามารถพูดและอ่านได้ภายในระยะเวลาเพียง 6 เดือน เนื่องจากพยัญชนะ สระ การประสมคำ และรูปประโยคจะคล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันที่เห็นชัดเจนคือ วิธีการออกเสียงซึ่งของไทยจะเน้นเสียงตัวสะกด ขณะที่กัมพูชาจะไม่ค่อยออกเสียงตัวสะกด และเสียงสระจะผันตามเสียงพยัญชนะซึ่งมี 2 ฐานคือ โฆษะ กับ อโฆษะ หรือเสียงใหญ่กับเสียงเล็ก เช่น คำตามรูปพยัญชนะและสระสะกดว่า การงาน ไทยอ่านว่า กาน งาน กัมพูชาจะอ่านว่า กา เงีย อักษร เป็นพยัญชนะโฆษะเสียงใหญ่ สระเสียงคงรูป แต่อักษร เป็นอโฆษะ เสียงเล็ก สระจะผันตามพยัญชนะ ซึ่งผู้สนใจคงจะต้องไปหาที่เรียนรู้เพิ่มเติม  ทั้งนี้ พยัญชนะขแมร์มี 32 ตัว สระมี 21 ตัว   จากการที่ชาวกัมพูชามีความใกล้ชิดกับชนชาติต่างๆ มาก ไม่ว่าจากการเป็นสังคมที่เปิดกว้าง การเข้ามาค้าขายของชาวจีน การกลับประเทศของผู้ลี้ภัยสงคราม ไม่ว่าจากประเทศที่มีชายแดนติดกัน หรือจากอเมริกา ฝรั่งเศส หรือออสเตรเลีย รวมทั้งการได้รับความช่วยเหลือในรูปทุนการศึกษาในด้านต่างๆ จำนวนมาก และอาจจะประกอบกับการให้ความสำคัญต่อการมีทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ ทำให้นักการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนชั้นกลางขึ้นมา จะพูดและฟังภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาแม่ได้ดี โดยทางธุรกิจการค้าจะมีภาษาจีนแต้จิ๋ว จีนกลาง และอังกฤษเป็นสำคัญ ขณะที่ภาษาไทยและเวียดนามจะรู้จักแพร่หลายทั่วกับผู้ประกอบธุรกิจและประชาชนทั่วไป โดยผู้ที่อยู่ตามจังหวัดชายแดนที่ติดกับประเทศทั้งสองจะมีทักษะในการใช้ภาษาไทยและเวียดนามมากกว่าผู้อยู่ในพนมเปญ

ภาพรวมด้านเศรษฐกิจ

ในปี พ.ศ. 2552 กัมพูชามีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ร้อยละ -1.5 ซึ่งมีสาเหตุจากภัยแล้งและอุทกภัย ส่งผลกระทบต่อผลผลิตด้านการเกษตร ซึ่งเป็นรายได้หลักของประชากรร้อยละ 70 ของประเทศ รวมถึงการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอ รองเท้า ที่ลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของกัมพูชา และการที่สหรัฐอเมริกายกเลิกการใช้มาตรการ Safeguard ต่อสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากจีน นอกจากนี้ จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินโลก ส่งผลให้การพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ได้ชะลอตัวลง และบางโครงการถอนการลงทุน อนึ่ง ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาส่งผลให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2553 คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชาน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้การส่งออกของกัมพูชามีแนวโน้มดีขึ้น ที่สำคัญกัมพูชาก็เริ่มให้การสนับสนุนกับการลงทุนภาคสาธารณะมากขึ้นเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวภายในอนาคต อาทิ การสร้างถนน โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าถ่านหิน สร้างท่าอากาศยาน การบริหารจัดการระบบรถไฟ เป็นต้น
ทั้งนี้ กัมพูชามีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ 635 เหรียญสหรัฐฯ โดยรายได้หลักของกัมพูชามาจากภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 32.5 ได้แก่ การกสิกรรม การประมง ปศุสัตว์ และป่าไม้ ซึ่งสินค้าเกษตรที่ส่งออก ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์ปลา และยางพารา รองลงมา ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง สัตว์มีชีวิต ผลไม้ และปลา เป็นต้น ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 22.4 ซึ่งสินค้าอุตสาหกรรมส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และภาคบริการร้อยละ 45.1 รายได้ที่สำคัญของภาคบริการ ได้แก่ รายได้จากนักท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเทศบูรไน ดารุสซาราม

ประเทศบูรไน ดารุสซาราม
 
ประเทศบรูไน
 
ชื่อทางการ เนการาบรูไนดารุสซาลาม 

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ 

ที่ตั้ง: ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้ แบ่งออกเป็น 4 เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong 
พื้นที่: 5,765 ตารางกิโลเมตร เป็นผืนแผ่นดิน 5270 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ 70% เป็นป่า เขตร้อน) และเป็นผืนน้ำ 500 ตารางกิโลเมตรโดย 
ดินแดนอาณาเขต: รวม 381 กิโลเมตร มีดินแดนอาณาเขตติดกับประเทศมาเลเซียทั้งหมด 
เขตชายฝั่ง: 161 กิโลเมตร 
เมืองหลวง: บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) 
ภูมิอากาศ: อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก และมี อุณหภูมิอบอุ่น โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส 
ภูมิประเทศ: พื้นที่ชายฝั่งสูงขึ้นเป็นภูเขาทางทิศตะวันออก และเนินเขาต่ำทางทิศตะวันตก 
ทรัพยากรธรรมชาติ: ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และไม้ 
ภัยธรรมชาติ: ไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว และอุทกภัย 
สิ่งแวดล้อม (ปัญหาปัจจุบัน): ควันจากไฟป่าในอินโดนีเซีย 
สิ่งแวดล้อม (ความตกลงระหว่างประเทศ) : เป็นสมาชิกความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ สูญพันธ์ การปรับตัวของสิ่งแวดล้อม ขยะอันตราย การปกป้องชั้นบรรยากาศ ภาวะมลพิษจากเรือ 

ประชากร 

ประชากร: 374,577 คน (ประมาณการ ปี 2550) 
โครงสร้างอายุ: 0-14 ปี : 27.8% (เพศชาย 53,512 เพศหญิง 50,529) 15-64 ปี : 69 % (เพศชาย 130,134 เพศหญิง 128,488) 65 ปี และสูงกว่า : 3.1% (เพศชาย 5,688 เพศหญิง 6,226)
อัตราการเติบโตของประชากร: 1.81% ต่อปี (ประมาณการ ปี 2550) 
สัญชาติ: ชาวบรูไน (Bruneian) 
กลุ่มชนพื้นเมือง: มาเลย์ 67% จีน 15% ชาวพื้นเมือง 6% อื่นๆ 12% 
ศาสนา: ศาสนาประจำชาติ คือ อิสลาม 67% และศาสนาอื่น ได้แก่ พุทธ 13% คริสต์ 10% และอื่นๆ 10% 
ภาษา: ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น ภาษาอังกฤษ และจีน 
การศึกษา: 92.7% ของประชากรทั้งหมดอ่านออกเขียนได้ 
รัฐบาล 

รูปแบบการปกครอง: สมบูรณาญาสิทธิราช 
เขตการปกครอง: แบ่งเป็น 4 เขต คือ Brunei-Muara, Belait, Temburong, Tutong 
รัฐธรรมนูญ: 29 กันยายน 2502 (แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527) 
ระบบกฎหมาย: ใช้หลักกฎหมายอังกฤษ สำหรับชาวมุสลิม ใช้ Islamic Shari'a law แทน กฎหมายแพ่งในหลายสาขา 
ฝ่ายบริหาร: ประมุขของรัฐ สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซ ซัดดิน วัดเดาละห์ (His Majesty Paduka Seri Baginda Sultan Haji Hassanal Bolkiahu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นประมุขของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510 
หัวหน้ารัฐบาล สมเด็จพระราชาธิบดีทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คณะรัฐมนตรี แต่งตั้งและเป็นประธานโดยสมเด็จพระราชาธิบดี การเลือกตั้ง ไม่มี สมเด็จพระราชาธิบดีสืบทอดตามตระกูล 
ข้อมูลเศรษฐกิจ 

ระบบเศรษฐกิจของบรูไนเป็นแบบตลาดเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศมาจากน้ำมัน ประมาณ 48% และก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 43% นับเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย คือประมาณ 2 แสนบาร์เรลต่อวัน และผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากเป็นอันดับ 4 ของโลก คือประมาณ 1.2 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมีบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Brunei National Petroleum Company Sedirian Berhad หรือ Petroleum Brunei) ซึ่งจัดตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซ โดยมุ่งเน้นสร้างความมั่งคั่งด้วยการนำรายได้จากน้ำมันไปลงทุนในต่างประเทศ หรือร่วมทุนกับต่างประเทศ โดยดำเนินการผ่าน Brunei Investment Agency (BIA) ในรูปการถือหุ้นหรือซื้อพันธบัตรในยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเวียดนาม โดยส่วนใหญ่อาศัยผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์เป็นผู้ให้คำปรึกษา 
เนื่องจากสินค้าส่งออกหลักของบรูไน คือ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (ส่งออกถึงร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมด) ทำให้บรูไนมีดุลการค้าเกินดุลมาโดยตลอด สินค้าส่วนใหญ่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น อังกฤษ ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐ ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐเกาหลี ตามลำดับ ในขณะที่สินค้านำเข้าส่วนใหญ่มาจากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ และมาเลเซีย โดยเป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และสินค้าเกษตร เช่น ข้าวและผลไม้ 

บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง ได้แก่ การผลิตอาหาร เครื่องมือ และเสื้อผ้า เพื่อส่งออกไปยังประเทศในยุโรปและอเมริกา ทั้งนี้ รัฐบาลบรูไนมุ่งที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและผลิตเครื่องดื่ม เสื้อผ้าและสิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ วัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช่โลหะ กระจกรถยนต์ เป็นต้น แต่ยังคงประสบอุปสรรคด้านการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะช่างฝีมือ ซึ่งต้องอาศัยแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลัก และตลาดภายในประเทศที่มีขนาดเล็ก 

ดอกไม้ประจำชาติบรูไนดารุสซาราม

10 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน มีอะไรบ้าง...มาดูกัน
 
 ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย